วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

จันทรุปราคา

จันทรุปราคา หรือ จันทรคราส เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก เราจึงมองเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ แหว่งมากขึ้น จนหมดลับดวงและโผล่กลับขึ้นมาอีกครั้ง อย่างที่คนสมัยโบราณเรียกว่า "ราหูอมจันทร์"
 จันทรุปราคา มี 3 ประเภทคือ
1.จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral eclipse)  เมื่อดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามัวของโลก ก็จะเกิด จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral eclipse) ดวงจันทร์จะลดความสว่างลงเล็กน้อย คล้ายมีเมฆบางๆ มาบังดวงจันทร์ซึ่งสังเกตได้ยากมาก

2.จันทรุปราคาบางส่วน (Partial lunar eclipse)เมื่อดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามืดของโลกครั้งที่ 1 หรือเมื่อดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด จะเกิด จันทรุปราคาบางส่วน (Partial lunar eclipse)
ดวงจันทร์จะเว้าแหว่งและลดความสว่างลง


 

3.  จันทรุปราคาเต็มดวง (Total lunar eclipse) จะเกิดเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง ดวงจันทร์จะมืดลงมากแต่ไม่ดำสนิท บางครั้งจะเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง หรือที่เรียกว่า "พระจันทร์สีเลือด"


การที่เรามองเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงมีสีดังสีเลือดก็เนื่องมาจากโลกมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ เมื่อเงาดำของโลกทอดไปทับดวงจันทร์ บรรยากาศบางส่วนที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะสะท้อนแสงไปยังเงาดำนั้นบ้าง     จึงทำให้เกิดแสงสลัวๆ
 ปรากฏขึ้น

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554
จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เกิดในเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554
(เฝ้ารอสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่คืนวันพุธที่ 15 มิถุนายน)
ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 01:23 น. ขณะที่ประเทศไทยเห็นดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 02:22 น. ถึง 04:03 น. แต่ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท เห็นเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เพราะแสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ จันทรุปราคาบางส่วนสิ้นสุดเวลา 05:02 น. เวลานั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 11° พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือทวีปอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
Pic_176976
http://www.ethailand.com/th/news/2-156383.html


http://kunnatee.athittaya.com/?p=802
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในคืนวันที่ 15 ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิถุนายน2554 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่คนไทยจะได้เห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย โดยดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืดของโลก เวลาประมาณ 01:22 น. และจะเข้าสู่ช่วงคราสเต็มดวงตั้งแต่ 02:22 น. ถึง 04:03 น. เราจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา คนไทยสามารถชมปรากฏการณ์นี้ได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ นอกจากนี้หากท้องฟ้าใส ไม่มีเมฆ และไม่มีแสงไฟรบกวน จะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวงอีกด้วย
และทั่วทุกมุมโลกก็สามารถสังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ตลอดช่วงการเกิดปรากฏการณ์ ได้แก่ ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชียกลาง ส่วนทวีปอเมริกาใต้และยุโรป จะเห็นปรากฏการณ์นี้ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในทิศตะวันออก ส่วนทวีปเอเชียใต้ ประเทศออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ สามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในทิศตะวันตก
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ถือได้ว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ผู้ที่พลาดการชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 16มิถุนายน 2554 นี้ ก็สามารถรอชมได้อีกทีในวันที่ 10 ธันวาคม 2554

Mercury transit

 ก็เป็นการบังกันอีกแบบหนึ่ง ของวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าเคลื่อนที่ผ่านวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ดาวพุธทรานซิต
ดวงอาทิตย์ หรือ ดาวศุกร์ทรานซิตดวงอาทิตย์ 

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

สุริยุปราคา


http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.spagyricarts.com/page6/files/lunar-eclipse_illustration.png&imgrefurl=http://fivefroggies.com/solar-and-lunar-eclipse-animation%


http://www.cssplay.co.uk/menu/start_gif.html
สุริยุปราคา(Solar Eclipse )
สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลก


http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.russellsastronomy.com/eclipse/2001-animation-lg.gif&imgrefurl=http://www.russellsastronomy.com/http://www.eclipse-glasses.com/index.php?page=89&id_langue=11
สุริยุปราคาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Eclipse) ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้เต็มดวงพอดี
2. สุริยุปราคาบางส่วน (PartialEclise) ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้เพียงบางส่วน
3. สุริยุปราคาวงแหวน (Annula Eclise) ดวงจันทร์อยู่ไกลจากโลกมากเกินไป ทำให้เห็นดวงอาทิตย์เป็นลักษณะวงแหวน
  4. สุริยุปราคาผสม (Hybrid Eclipse) สุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบวงแหวน เกิดขึ้นผสมกันในครั้งเดียวโดยบางแห่งเห็นแบบเต็มดวง แต่บางแห่งจะเห็น เป็น ลักษณะวงแหวน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคา คือ ห้ามมองด้วยตาเปล่า โดยเด็ดขาด จนกว้่ดวงจนทร์จะบังดวงอาทิตย์เต็มทั้งดวง
การเกิดสุริยุปราคามีหลายแบบตามลักษณะเงาที่เราเห็นคือ
1) สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Eclipse) เป็นการเกิดการบังกันที่สมบูรณ์แบบ คือดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้เต็มดวงพอดี หรือขนาดความกว้างเชิงมุมของดวงจันทร์เท่ากันหรือใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย

 

หมายเหตุ: การสังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงนั้น ช่วงแรกก่อนที่ดวงจันทร์จะบังสนิท จะต้องมองดูปรากฏการณ์ด้วยผ่านฟิลเตอร์กรองแสงที่ได้มาตรฐานด้วย เพราะแสงอาทิตย์ยังมีความสว่างมากอยู่

นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจกับสุริยุปราคาแบบเต็มดวงนี้มากที่สุด เพราะมีปรากฏการณ์หลายอย่างตามมาด้วย เช่น ปรากฏการณ์แหวนเพชร (Diamond Ring) และ ลูกบัดของเบรี่ (Baily's Beads)

ลูกปัดของเบรี่ (Baily's Beads) เกิดขึ้นหลังจากที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์เกือบหมด หรือระหว่างที่กำลังบังกันสนิท จะเกิดแสงสว่างบริเวณขอบของดวงจันทร์ คล้ายสร้อยลูกปัด ซึ่งได้ชื่อจาก ฟรานซิส เบรี่ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งอธิบายได้ถึงปรากฏการณ์ดังกล่าว ว่าเกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ที่ยังลอดผ่านช่องเขาที่อยู่ตามบริเวณขอบของดวงจันทร์
แหวนเพชร (Diamond Ring) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนการบังกันสนิท และก่อนจะออกจากคราส ซึ่งจะเกิดแสงวาบจากดวงอาทิตย์เพียงช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น ลักษณะคล้ายแหวน
โคโรน่า(Corona) มีเพียงสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถสังเกตเห็น ชั้นบรรยากาศโคโรน่าของดวงอาทิตย์ได้



โพรมิเน้นท์ (Prominance) คือพวยก๊าซที่พุ่งออกมาจากผิวของดวงอาทิตย์ชั้นโฟโตสเซีย ซึ่งปกติเราจะสังเกตเห็นได้จากคลื่นแสงย่านไฮโดรเจนอัลฟ่า เท่านั้น แต่ระหว่างที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง เราสามารถเห็นพวยก๊าซนี้ได้จากกล้องโทรทรรศน์โดยตรงโดยไม่มีอันตราย

 2) สุริยุปราคาบางส่วน (partial Eclipse) เป็นการเกิดสุริยุปราคาที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ไม่หมด ซึ่งบางครั้งเกิดขึ้นจากดวงจันทร์ไม่ได้อยู่บนโหนดพอดีทุกส่วน ทำให้มีบางส่วนที่บังดวงอาทิตย์ไม่หมด หรือเป็นกรณีของผู้สังเกตที่อยู่ใกล้แนวการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงแต่เงาส่วนมืด (Umbra) ไม่ได้ผ่านส่วนนั้นของผู้สังเกต จะเป็นส่วน penumbra หรือเงามัวแทน ซึ่งจะสังเกตเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนทั้งผู้สังเกตที่อยู่ตอนบนและตอนล่างของแนวผ่านอุปราคา
3) สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Eclipse) คล้ายกับสุริยุปราคาเต็มดวงตรงที่ดวงจันทร์มาอยู่ในตำแหน่งโหนดพอดี แต่ว่าขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์นั้นเล็กกว่าดวงอาทิตย์ไปเล็กน้อย เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกที่เป็นวงรีจึงมีบางช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้ และอยู่ไกลจากโลก ขนาดเชิงมุมจึงเปลี่ยนไป และขณะเกิดปรากฏการณ์เป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกทำให้ขนาดความกว้างเชิงมุมของดวงจันทร์เล็กกว่าดวงอาทิตย์

วงแหวน, พื้นที่ศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ถูกบดบัง แต่ภาคขอบข่ายยังสว่าง จึงเกิดวงแหวน นี่คือเหตุผลสุริยุปราคาแบบเต็มดวงมีน้อยและเป็นปรากฏการณ์ที่นิยมกันมาก
ก่อนสุริยุปราคาเต็มดวง, วงแหวนสว่างรอบดวงอาทิตย์ปรากฏจุดสว่างที่แวววาวขึ้น ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สุดท้ายส่องผ่านหุบเขาบนดวงจันทร์ แสงอาทิตย์แทบ หายไปหมด เหลือแต่วงแหวนสว่างอย่างห่วงไข่มุกสีขาวล้อมรอบดวงอาทิตย์ บางทีเป็นรูปร่างที่ไม่เป็นระเบียบ
 4) สุริยปราคาแบบผสม (Hybrid Eclipse) เป็นสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นกึ่งกลางระหว่างแบบเต็มดวงและแบบวงแหวน ตามแนวที่เงามืดผาดผ่านเช่นเริ่มเห็นแบบเต็มดวงแต่จบท้ายด้วยแบบวงแหวนหรือ เริ่มต้นแบบวงแหวนแต่จบท้ายด้วยแบบเต็มดวง เป็นสุริยุปราคาที่ค่อนข้างหายากและเกิดขึ้นน้อยมาก

 คำแนะนำในการสังเกตสุริยุปราคา เนื่องจากสุริยุปราคาที่เห็นในประเทศไทยครั้งนี้ เป็นสุริยุปราคาบางส่วน ทำให้ยังมีส่วนที่สว่างของดวงอาทิตย์อยู่ด้วย การสังเกตโดยตรงจะทำอันตรายกับดวงตาของเราจนสามารถทำให้ตาบอดได้ จึงควรทำด้วยความระมัดระวัง
1) การสังเกตด้วยตา ควรมองผ่านแผ่นกรองแสงที่ได้คุณภาพ เช่น แว่นดูสุริยคราส ที่ผลิตเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ไม่ควรใช้วัสดุกรองแสงอื่นๆ เช่น ฟิล์มถ่ายรูปเสียๆ หรือ กระจกรมควัน เพราะวัสดุเหล่านี้กรองได้เพียงความเข้มแสง แต่รังสีอันตรายอื่นๆจากดวงอาทิตย์ยังผ่านได้อยู่ และที่สำคัญไม่ควรจ้องมองดวงอาทิตย์เป็นเวลานานๆ แม้จะมีแว่นป้องกันแล้วก็ตาม


http://www.darasart.com/solarsystem/eclipse/main.htm
2) การสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นการห้ามโดยเด็ดขาดที่จะใช้กล้องส่องดูดวงอาทิตย์โดยตรง ควรจะติดแผ่นกรองแสงด้านหน้ากล้องด้วยฟิล์มหรือวัสดุที่ได้คุณภาพ และไม่ควรใช้ฟิลเตอร์ดวงอาทิตย์ที่ติดเลนซ์ตา เพราะจะทำให้เสี่ยงมากกับอันตรายมากกว่า







http://www.darasart.com/solarsystem/eclipse/main.htm
3) การใช้วิธีโปรเจคชั่นดวงอาทิตย์ กรณีที่เรามีโทรทรรศน์แต่ไม่มีแผ่นกรองแสงที่ได้คุณภาพ ควรใช้วิธีโปรเจ็คชั่นภาพจากดวงอาทิตย์ลงบนฉากสีขาวตามวิธีดังรูป จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด