วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฤดูกาล




ฤดูกาล (Season) 
เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในรอบ 1  ปี  โดยที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5  องศา  จากแนวตั้งฉาก
กับระนาบวงโคจรของโลก    ทำให้ตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลกได้รับพลังงานแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน  บริเวณที่ได้รับแสงมากต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเรียกว่า
ฤดูร้อน  ส่วนบริเวณที่ได้รับแสงน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน  เรียกว่า ฤดูหนาว   
     ฤดูกาล (Seasons) เป็นการแบ่งระยะเวลาในหนึ่งปีออก
เป็นช่วงๆตามสภาพอากาศ  โดยแต่ละช่วงจะมีสภาพอากาศ
ที่แตกต่างกันออกไป
ในบริเวณที่อยู่นอกเขตมรสุม
 แบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ฤดูกาล ได้แก่
 ฤดูร้อน (Summer) ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn)
 ฤดูหนาว (Winter) และฤดูใบไม้ผลิ (Spring)
                       ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว
แบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่
     1.วสันตฤดู หรือฤดูใบไม้ผลิ: 21 มีนาคม - 20 มิถุนายน
เป็นช่วงเดือนที่ยุโรปกลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่มี
ความวิเวกวังเวงและเยือก      อันมีชีวิตชีวาสร้างความกระปรี้
กระเปร่าให้กับธรรมชาติแวดล้อม อย่างมากมาย นักท่องเที่ยว
จากประเทศไทยเรานิยมไปเยือน ยุโรปช่วงนี้มากที่สุด เพราะ
อยู่ระหว่างโรงเรียนปิด ภาคฤดูร้อน และที่สำคัญคือเป็นช่วง
ที่ดอกไม้ ในยุโรปเบ่งบานงดงามที่สุด โดยเฉพาะในฮอลแลนด์
 มีงานเทศกาล ดอกทิวลิป และสวนพฤกษชาติ เคอเคนฮอฟ
อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของ มวลดอกไม้นานาพันธุ์สดสีสวยงาม 
เปิดให้เข้าชมตอนกลางเดือน เมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
เท่านั้น อากาศกำลังสบายน่าเที่ยว อุณหภูมิเฉลี่ย 12-22 องศาเซลเซียส
    2.คิมหันตฤดู หรือฤดูร้อน: 21 มิถุนายน - 21 กันยายน
    ฤดูแห่งความอบอุ่น และมีชีวิตของยุโรป ระหว่าง3-4 เดือนนี้ ทวีปยุโรปจะสว่างไสวไปด้วยแสงแดดอันอบอุ่นที่สุดใน รอบปี ในแต่ละวันจะมีแดด ให้เห็นจนถึง 4 ทุ่มจึงพลบค่ำ แม้แต่ชาวยุโรปผู้รักธรรมชาติเองก็พากันลาพักร้อนไปตากอากาศ หรือพักผ่อนกันอย่างมากมาย สถานที่ ท่องเที่ยว อันเป็นที่โปรดปรานที่เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ เมษายน .ถึงเดือนตุลาคม อาทิ เมืองตุ๊กตามาดูโรดัม ในฮอลแลนด์ อุทยานน้ำพุทิโวลี ที่กรุงโรม และเรือล่องแม่น้ำไรน์ ในเยอรมัน อากาศโดยทั่วไปเย็นตอนเช้าตรู่ และหัวค่ำ กลางวันร้อนแต่ไม่อบอ้าว อุณหภูมิเฉลี่ย 18-30 องศาเซลเซียส
    3.สารทฤดู หรือฤดูใบไม้ร่วง: 22 กันยายน - 21 ธันวาคม
    โดยทั่วไปยังอบอุ่นเช่นเดียวกับฤดูร้อนที่ผ่านมา สถานที่ท่อง เที่ยวทั่วไปเปิดตามปกติ เหมือน ฤดูร้อนจนกระทั่งปลายเดือนตุลาคม อากาศจึงเริ่มเย็นขึ้น แต่ยังถือเป็นฤดูน่าเที่ยวของ ยุโรปอยู่ เนื่องจากใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวสด เป็นเหลืองปนน้ำตาลแดง สอดสีเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งทวีป อากาศกำลังเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ย 10-18 องศาเซลเซียส
    4.เหมันตฤดู หรือฤดูหนาว : 22 ธันวาคม - 20 มีนาคม
          ถึงแม้เดือนแห่งความอบอุ่นของฤดูร้อนจะผ่านพ้นไปแล้ว
แต่ยุโรปก็ยังเต็มไปด้วย  เอกลักษณ์ของความเป็นเมืองหนาว
อย่างน่าชมทีเดียว ประเทศที่มี ภูเขาสูง (อิตาลี,สวิส, ฝรั่งเศส)
จะมีหิมะปกคลุมอยู่ขาวนวล ถึงอากาศจะเย็น แต่นักท่องเที่ยว
เป็นจำนวนมากก็ยังหลั่งไหลมายุโรป             มาเพื่อสัมผัสกับ บรรยากาศอันสุขสงบของหิมะเมืองหนาว ยุโรปฤดูนี้จะเงียบ
 ไม่พลุกพล่าน หรือแออัดด้วยนักท่องเที่ยว เหมือนในฤดูร้อน
 อุณหภูมิเฉลี่ย 1 ถึง -10 องศาเซลเซียส
ฤดูกาลเหล่านี้เกิดขึ้นจากเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อนที่
ได้รับจากดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปเรามักคิดกันว่า การเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระยะห่างจากดวงอาทิตย์       แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระยะห่างจาก
ดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในรอบปีหนึ่งๆทั้งนี้เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบจะเป็นรูปวงกลม นอกจากนี้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระยะห่างแล้ว ทุกๆส่วนบนโลกนี้จะต้องมีฤดูกาลต่างๆตรงกัน แต่กลับพบว่า ในช่วงที่เป็นฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ กลับเป็นฤดูหนาวในซีกโลกใต้ และในทางกลับกัน ช่วงฤดูหนาวในซีกโลกเหนือก็เป็นเวลาที่ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน

ถ้าเราสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในแต่วันเราจะพบว่า มีน้อยวันในรอบปีที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรงกับทิศตะวันออกและตะวันตกพอดี โดยมากดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกเบี่ยงออกไปไม่ทางเหนือก็ทางใต้ เมื่อเปรียบเทียบตำแหน่งของดวงอาทิตย์กับดวงดาว จึงเหมือนกับดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามตำแหน่งต่างๆบนท้องฟ้าเราเรียกเส้นทางเดินของดวงอาทิตย์นี้ว่าสุริยะวิถี (Ecliptic)

สุริยะวิถีจะทำมุม 23.5 องศากับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial equator) การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของดวงอาทิตย์นี้แท้ที่จริงแล้วเกิดขึ้นเนื่องจากการเอียงของแกนโลกเป็นมุม 23.5 องศากับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยแกนของโลกจะชี้ไปที่ตำแหน่งเดิมตลอดเวลา ซึ่งก็คือตำแหน่งของดาวเหนือ นั่นเอง ดังนั้นในระหว่างที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ บางเวลาแกนโลกจึงเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และในบางเวลาก็เอียงออกจากดวงอาทิตย์
วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางทิศตะวันออกและตะวันตก
พอดี เราเรียกว่า วิษุวัต(Equinox) โดยในแต่ละปีจะมี
เพียง 2 วันเท่านั้น คือวันที่ 21 มีนาคม เรียกว่า
วสันตวิษุวัต(Vernal equinox) ถือว่าเป็นวันเริ่มต้น
ของฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกใต้) และวันที่ 22 กันยายน เรียกว่า ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกใต้) ในวันทั้งสองนี้ แกนโลกจะอยู่ในระนาบตั้งฉากกับรัศมีจากดวงอาทิตย์พอดี ทำให้กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน หรือ เรียกว่า มัธยมกาล ซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เท่าๆกัน

<> <>
<>


รูปที่ 1 ภาพแสดงตำแหน่งของโลกในช่วงเวลาต่างๆในแต่ละปี การเอียงของโลก ทำให้โลกหันด้านที่แตกต่างกันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณต่างๆบนโลกจึงได้รับพลังงานความร้อนที่ไม่เท่ากัน เกิดเป็นฤดูกาล
เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากวันที่ 21 มีนาคม โลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่อไป ทำให้แกนโลกชี้เข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกค่อนไปทางเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ ซีกโลกเหนือจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น แสงอาทิตย์จะตกกระทบตั้งฉากลงบนพื้นที่บนซีกโลกด้านนี้ ทำให้ได้รับพลังงานความร้อนมากกว่า จึงเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อน
กลางวันจะยาวขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน แกนโลกจะชี้เข้าหาดวงอาทิตย์มากที่สุด ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกค่อนไปทางเหนือมากที่สุด เรียกว่า อุตรายัน (Summer solstice) วันนี้จะเป็นวันที่ยาวที่สุดในซีกโลกเหนือ และสั้นที่สุดในซีกโลกใต้ เป็นวันเริ่มต้นของฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ และฤดูหนาวของซีกโลกใต้ หลังจากวันนี้ ดวงอาทิตย์จะชี้แกนเข้าหาดวงอาทิตย์น้อยลง จนกระทั่งถึงวันที่ 21 กันยายน แกนโลกจะอยู่ในระนาบตั้งฉากกับรัศมีจากดวงอาทิตย์ กลางวันจะเท่ากับกลางคืน
 
หลังจากนั้นแกนโลกจะค่อยๆชี้ออกจากดวงอาทิตย์ ในซีกโลกเหนือกลางวันจะสั้นขึ้นเรื่อยๆ และจะสั้นที่สุดในวันที่ 21 ธันวาคม หรือ ทักษิณายัน (Vernal solstice) ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะขึ้นค่อนไปทางใต้มากที่สุด เป็นการเริ่มต้นของฤดูหนาว ส่วนทางซีกโลกใต้ วันนี้จะเป็นวันที่ยาวที่สุดและเป็นการเริ่มต้นฤดูร้อน เพราะว่าแกนโลกจะหันด้านใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกใต้ได้รับความร้อนมากกว่าซีกโลกเหนือ หลังจากนี้ แกนโลกจะค่อยๆชี้เข้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น วันในซีกโลกเหนือจะยาวขึ้น จนกลับมาเท่ากันในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งก็จะครบหนึ่งปีพอดี

<><>
<>
สำหรับฤดูกาลในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณเหนืออ่าวไทยขึ้นมา จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูหนาว (รวมกันเรียกว่า "ฤดูแล้ง") และฤดูฝน
ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม (Monsoon) ลมมรสุมที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยมีสองลมมรสุม คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรุสมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากมหาสมุทรอินเดีย เข้าสู่ประทศไทยในราวกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยพอดี ลมมรสุมนี้จะพัดเอามวลอากาศอุ่นภาคพื้นสมุทร ซึ่งเป็นมวลอากาศร้อนชื้นเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกชุก จนถึงราวปลายเดือนมิถุนายน
เมื่อร่องความกดอากาศเคลื่อนที่ขึ้นไปทางตอนใต้ของประเทศจีน ฝนจะเริ่มซาลง ทิ้งช่วงราว 1-2 สัปดาห์ ก่อนที่ร่องความกดอากาศจะเลื่อนกลับลงมาที่ประเทศไทย ทำให้ฝนตกอีกครั้ง จนกระทั่งราวกลางเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนจะเริ่มพัดเข้ามา ลมนี้จะนำมวลอากาศเย็นภาคพื้นทวีปเข้ามา ทำให้สภาพอากาศแห้งและเย็น เป็นการเริ่มต้นของฤดูหนาว

 
<><>
ฤดูหนาวจะค่อยๆสิ้นสุดลงในราวเดือนกุมภาพันธ์ ลมมรสุมที่มีอิทธิพลในประเทศไทยจะเริ่มเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อากาศจะเริ่มร้อนขึ้น และจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน ทั้งนี้เนื่องจากดวงอาทิตย์จะเลื่อนเข้ามาอยู่ตรงกับประเทศไทย หรือดวงอาทิตย์จะตรงศีรษะในเวลาเที่ยงในวันที่ 27 เมษายน
 แต่ในบางครั้ง มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอาจจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อน ซึ่งจะก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจเกิดลูกเห็บตกได้ เรียกเป็นพายุฤดูร้อน
 
ส่วนภาคใต้ จะแบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมเช่นเดียวกัน ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะเข้าสู่ฤดูฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในเดือนพฤษภาคม ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะเข้าสู่ฤดูฝนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมวลอากาศชื้นจากอ่าวไทย

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้างขึ้น ข้างแรม

ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม (Lunar's Phases)
ปัจจุบัน เราทราบว่า ดวงจันทร์โคจรรอบโลกของเราด้วยระยะทางเฉลี่ยประมาณ 384,000 กม. ในทิศเดียวกับการหมุนของโลก ใช้เวลาประมาณ 27.3 วันต่อรอบ (เมื่อเทียบจากจุดเดิม)

เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เราก็จะไม่เห็นดวงจันทร์ แต่เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ไป เราจะค่อยๆเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ เราเรียกว่า "ปรากฏการณ์ข้างขึ้น" ชาวอียิปต์โบราณได้สังเกต และกำหนดให้วันที่เริ่มเห็นแสงจากเสี้ยวดวงจันทร์ เป็นวันแรกของปฏิทินแบบจันทรคติของแต่ละเดือน

ช่วงข้างขึ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงแรก (New Moon Phase):

     เราจะเริ่มเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก หลังพลบค่ำไปแล้ว โดยจะค่อยๆเห็นดวงจันทร์มากขึ้น และจะเห็นสูงขึ้นวันละประมาณ 12 องศา และจะเห็นดวงจันทร์ตกทางขอบฟ้าทิศตะวันตกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที ช่วงนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Waxing Crescent


ช่วงสอง (First Quarter Phase):

ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มปรากฏการณ์ข้างขึ้น เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวง หันด้านนูนไปทางทิศตะวันตก โดยจะเห็นสูงสูงกลางท้องฟ้าเยื้องไปทางซีกโลกใต้ ในช่วงหัวค่ำ และจะค่อยๆลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกช่วงเที่ยงคืน ช่วงนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waxing Gibbous"



เมื่อจันทร์เต็มดวง หรือจันทร์เพ็ญ (Full Moon Phase)

ประมาณ2 สัปดาห์หลังจากเริ่มปราฏการณ์ข้างขึ้น เราจะเห็นจันทร์เต็มดวง เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกตั้งแต่ช่วงค่ำ โดยจะเห็นได้ตลอดคืน จนกระทั่งดวงจันทร์ลับขอบฟ้าทิศตะวันตก ในช่วงเช้า
ดวงจันทร์เต็มดวง เป็นที่มาของวันสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ 4),วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ 7), วันลอยกระทง (วันเพ็ญ เดือน 12) เป็นต้น
ปรากฏการณ์ข้างแรม
เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านหลังโลกในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะค่อยๆแหว่งไปทีละน้อย เราเรียกว่า "ปรากฏการณ์ข้างแรม"
ช่วงข้างแรมจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงแรก:

      เราจะเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งทีละน้อย และจะค่อยๆเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที ช่วงนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waning Gibbous"

ช่วงสอง (Third Quarter Phase):
ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มปรากฏการณ์ข้างแรม เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวง หันด้านนูนไปทางทิศตะวันออก โดยจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออก หลังเที่ยงคืนไปแล้ว โดยจะค่อยๆเคลื่อนสูงขึ้น จนสูงสุดบนท้องฟ้าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในช่วงเช้า หลังจากนั้น เราก็จะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที และจะเห็นจุดสูงสุดก่อนดวงอ่าทิตย์ขึ้น ลดลงวันละประมาณ 12 องศา ช่วงนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waning Crescent"



ระยะเวลาปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมในแต่ละรอบ
     ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมนี้ เวลาในแต่ละรอบจะนานกว่าคาบการเคลื่อนที่รอบโลกของดวงจันทร์ เนื่องจากเมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ โลกได้เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งนั้นแล้ว (หรือเมื่อมองจากโลก ก็คือ ดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนที่ ไปจากตำแหน่งเดิมนั้นแล้ว) ดังนั้น ดวงจันทร์จะมาอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์อีกครั้งให้เราเห็น "จันทร์ดับ" ก็ต่อเมื่อดวงจันทร์ต้องเคลื่อนที่ไปอีกเล็กน้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 29.5 วันต่อรอบนั่นเอง
ทำไมเราเห็นดวงจันทร์ชี้ปลายวงพระจันทร์ขึ้นฟ้า
ในขณะที่ข้างขึ้นนั้น เราจะเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์หันด้านนูนไปทางทิศตะวันตก และหันปลายวงพระจันทร์ขึ้นข้างบน คล้ายเขาควายหงายเมื่อเทียบกับขอบฟ้า ในขณะที่ผู้สังเกตดวงจันทร์ที่บนซีกโลกเหนือจะเห็นดวงจันทร์ตะแคง เนื่องจากประเทศไทยของเรา อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง
ทำไมเราเห็นดวงจันทร์ชี้ปลายวงพระจันทร์ขึ้นฟ้า
ในขณะที่ข้างขึ้นนั้น เราจะเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์หันด้านนูนไปทางทิศตะวันตก และหันปลายวงพ